วันพุธที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วนอุทยานเมืองเก่าชัยบุรี

วนอุทยานเมืองเก่าชัยบุรี


วนอุทยานเมืองเก่าชัยบุรี อยู่ในท้องที่บ้านคอกวัว หมู่ที่ 1 ตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง มีเนื้อที่ประมาณ 1,875 ไร่ โดยกรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2544








ลักษณะภูมิอากาศ

เนื่องจากตั้งอยู่ในภาคใต้ จึงมีสภาพภูมิอากาศเพียงฤดูฝนและฤดูร้อน มีฝนตกเกือบตลอดปี ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงธันวาคม อากาศค่อนข้างเย็นสบายและฤดูร้อนอยู่ระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน สำหรับในที่โล่งบนภูเขาและช่องเขาจะมีลมแรงเนื่องจากเป็นภูเขาตั้งอยู่กลางที่นา






พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่า เป็นป่าดิบชื้น พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตะเคียนหิน ยางเสียน กระบาก เหรียง มะม่วงป่า รักเขา พิกุลป่า สมอ ไทรเลียบ งิ้ว ไพล พลอง ฝาด แก้ว หนามขี้แรด นน ไม้พื้นล่างได้แก่ มะกรูดผี ไม้โร (จั๋ง) เต่าร้าง กล้วยป่า ไม้เลื้อยชนิดต่างๆ สมุนไพรมีจำนวนมากได้แก่ คนทีดำ คนทีแดง จันทน์แดง สลัดได ดีปลีเชือก ส้มป่อย กาหลง ขอบชะนางแดง ขอบชะนางดำ ขอบชะนางขาว ดีงู กระดูกไก่ ขันทองพยาบาท เป็นต้น และมีกล้วยไม้ชนิดต่างๆที่สำคัญ ได้แก่ รองเท้านารี
สัตว์ที่พบป่า ได้แก่ ลิงต่างๆ ลิ่น ชะมด อีเห็น กระจง กระรอก บ่าง เม่น กระแต นางอาย ค้างคาว สัตว์ป่าจำพวกนก ได้แก่ ไก่ป่า นกขมิ้น นกเขา นกเค้าแมว นกตบยุง เหยี่ยว กาเหว่า นกรอดชนิดต่างๆ นกกางเขนดง นกกางเขนบ้าน นกกินปลี และนกกินแมลงชนิดต่างๆจำนวนมาก

                                                                                                             



แหล่งท่องเที่ยว
จุดชมวิว เนื่องจากเป็นภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในที่โล่งแจ้ง ล้อมรอบด้วยทุ่งนา สวนยางพารา และสวนผลไม้ เมื่อขึ้นไปบนภูเขาจะมีลานขนาดใหญ่ระดับความสูง 300 เมตรจากระดับน้ำทะเล สามารถมองเห็นทัศนียภาพสวยงามรอบด้านได้คือทางทิศตะวันออกจะมองเห็นทะเลสาบสงขลา ทิศใต้จะมองเห็นตัวเมืองพัทลุง ทิศตะวันตกจะเห็นเขาพนมวังก์และถนนสายเอเชีย จุดสูงสุดบนยอดเขาจะมีโขดหินใหญ่ชาวบ้านเรียกว่า หลักช้างตั้งอยู่บนลานกว้างสวยงามมาก
ถ้ำพระนอน เป็นถ้ำอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาชัยบุรี (เขาเมือง) ขุดพบพระพระพุทธรูปสัมฤทธิ์หลายองค์ และช่างปูนพื้นเมืองได้ปั้นพระพุทธรูปปูนต่ำปางไสยาสน์ติดกับเชิงผาภายในถ้ำ ชาวบ้านนับถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธ์ มีหินงอกหินย้อยสวยงาม กิจกรรม : - ชมประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม - เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา



แท่นท่านยอ (ลานอโศก) ตั้งอยู่ในที่ราบระหว่างหุบเขาชัยบุรี (เขาเมือง) และเขาพลู เดิมมีวัดตั้งอยู่คือ วัดในยอ(ไนย) โดยมีช่องเขาเป็นประตูเมืองติดต่อถึงถ้ำพระนอนได้ วัดในยอคงเป็นวัดเก่าที่สร้างในสมัยอยุธยาและใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา
ปัจจุบันมีแท่นเป็นรูปปั้นงูขนาดใหญ่สีขาวอยู่ในบริเวณลานต้นอโศก ซึ่งมีอายุหลายร้อยปี มีสภาพร่มรื่นและมีน้ำผุดขึ้นจากใต้ดินไหลผ่าน นับเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธ์
หน้าผาเขาชัยบุรี (เขาเมือง) มีลักษณะเป็นภูเขาหินสูง ประกอบด้วยหินปูนสีน้ำตาลเทาถึงเทาเข้มและเป็นชั้นหนาประมาณ 5-30 เซนติเมตร หินปูนส่วนใหญ่จะถูกแทนที่ด้วยแร่โคโรไบต์มีสีชมพูหรือสีส้มผสม ดังนั้นบริเวณที่เป็นโขดหินใหญ่จะมีหน้าผาที่มีสีสัน






บ้านพัก-บริการ
วนอุทยานเมืองเก่าชัยบุรี ไม่มีบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยว หากมีความประสงค์จะไปพักแรมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาต ใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่วนอุทยานเมืองเก่าชัยบุรีโดยตรง


การเดินทาง
รถยนต์ เส้นทางคมนาคมจากตัวเมืองจังหวัดพัทลุง เป็นถนนลาดยางตลอดสาย ไปทางทิศเหนือถึงบริเวณเขาชัยบุรีและเขาพลู ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร เดินทางต่อไปทางทิศตะวันออก ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร และย้อนกลับลงมาทางทิศใต้เข้าตัวเมืองพัทลุงโดยผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 เป็นระยะทาง 14 กิโลเมตร
สถานที่ติดต่อ
วนอุทยานเมืองเก่าชัยบุรี สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 20 (สงขลา) ต.ชัยบุรี อ.เมือง จ.พัทลุง










          จังหวัดพัทลุง อยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลา ห่างจากกรุงเทพฯ ๘๖๐ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น ๓,๔๒๔.๔๗๓ ตารางกิโลเมตร เป็นเมืองแห่งขุนเขาที่เก่าแก่โบราณเมืองหนึ่งของภาคใต้ ตัวเมืองมีเขาอกทะลุเป็นสัญลักษณ์สูงเด่นมองเห็นแต่ไกล เป็นเมืองต้นกำเนิดหนังตะลุงและโนรา มีประวัติสันนิษฐานว่าพัทลุงเป็นเมืองที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยศรีวิชัย ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่เขาหัวแดง ฝั่งตรงข้ามกับเมืองสงขลาในปัจจุบัน แต่เนื่องจากมีภัยต่างๆ มารบกวนทำให้ต้องย้ายเมืองไปตั้งอยู่ตามตำบลต่างๆ หลายครั้ง
แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดพัทลุงที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ อุทยานนกน้ำทะเลน้อย เป็นอุทยานนกน้ำใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ที่นักดูนกทุกคนใฝ่ฝันจะมาเที่ยวชม นอกจากสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติแล้ว โบราณสถาน วัดต่าง ๆ ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้าน ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เราทราบถึงความเป็นมาของเมืองพัทลุง



อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอรัตภูมิ อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา และอำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ทิศตะวันออก ติดต่อกับทะเลสาบสงขลา เขตอำเภอระโนด กระแสสินธุ์ สทิงพระ และสิงหนคา จังหวัดสงขลา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทือกเขานครศรีธรรมราช หรือเขาบรรทัด เขตอำเภอห้วยยอด เมืองตรัง นาโยง ย่านตาขาว และปะเหลียน จังหวัดตรัง
การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ ๓ เส้นทาง คือ
เส้นทางที่ ๑ ตามทางหลวงหมายเลข ๔ ถึงชุมพร (สี่แยกปฐมพร) แยกเข้าระนอง พังงา กระบี่ ตรัง จนถึงพัทลุง ระยะทางประมาณ ๑,๑๔๐ กิโลเมตร
เส้นทางที่ ๒ ตามทางหลวงหมายเลข ๔ ถึงชุมพร ให้เข้าทางหลวงหมายเลข ๔๑ จนถึงจังหวัดพัทลุง ระยะทาง ๘๔๐ กิโลเมตร
เส้นทางที่ ๓ ตามทางหลวงหมายเลข ๔ ผ่านชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข ๔๐๓
จากนั้นจึงเข้าทางหลวงหมายเลข ๔๑ ที่ชุมทางเขาชุมทอง จนถึงพัทลุง
รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีรถไฟผ่านอำเภอเมือง อำเภอควนขนุน อำเภอเขาชัยสน อำเภอปากพะยูน อำเภอป่าบอน อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง รายละเอียดสอบถาม โทร. ๑๖๙๐,   ๐ ๒๒๒๓ ๗๐๑๐  , ๐ ๒๒๒๓ ๗๐๒๐ สถานีรถไฟพัทลุง โทร. ๐ ๗๔๖๑ ๓๑๐๖ www.srt.or.th
รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถกรุงเทพฯ    พัทลุง    ทุกวัน มีรถออกที่สถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี   สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. ๐ ๒๔๓๔ ๕๕๕๗-๘ , ๐ ๒๔๓๕ ๑๑๙๙, ๐ ๒๔๓๕ ๑ www.transport.co.th



เครื่องบิน จังหวัดพัทลุงไม่มีสนามบิน นักท่องเที่ยวสามารถลงได้ที่จังหวัดตรังหรือหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับตารางการบินได้ที่ บมจ.การบินไทย โทร. ๑๕๖๖, ๐ ๒๒๘๐ ๐๐๖๐, ๐ ๒๖๒๘ ๒๐๐๐ สำนักงานตรัง โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๘๐๖๖, ๐ ๗๕๒๑ ๙๙๒๓ สำนักงานหาดใหญ่ โทร. ๐ ๗๔๒๔ ๕๘๕๑-๒, ๐ ๗๔๒๔ ๓๗๑๑, ๐ ๗๔๒๓ ๓๔๓๓ www.thaiairways.com






ระยะทางจากอำเภอเมืองไปอำเภอต่างๆ
กิ่งอำเภอศรีนครินทร์ ๑๖ กิโลเมตร
อำเภอควนขนุน ๑๗ กิโลเมตร
อำเภอเขาชัยสน ๒๘ กิโลเมตร
อำเภอศรีบรรพต ๓๕ กิโลเมตร
อำเภอป่าพะยอม ๓๘ กิโลเมตร

อำเภอตะโหมด ๓๙ กิโลเมตร
อำเภอกงหรา ๔๐ กิโลเมตร
อำเภอบางแก้ว ๔๐ กิโลเมตร
อำเภอป่าบอน ๕๐ กิโลเมตร
อำเภอปากพะยูน ๖๖ กิโลเมตร













ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
มโนราห์หรือโนรา ศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดพัทลุงได้ชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของโนรา สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียภาคใต้ พร้อมกับละครชาตรี แต่ท่าร่ายรำถูกเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับวัฒนธรรมของคนแต่ละจังหวัด การร่ายรำมีท่าสำคัญ ๑๒ ท่า การแสดงจะดูท่าร่ายรำ ฟังบทร้องซึ่งผู้แสดงจะร้องเองโดยการด้นกลอนสดหรือร้องตามบทที่แต่งไว้
หนังตลุง เป็นการแสดงพื้นบ้านที่นิยมทางภาคใต้ หนังตลุงจะทำจากหนังวัวดิบตากแห้งเป็นแผ่นแข็ง ตัดเป็นตัวละครต่าง ๆ สลักลวดลายสวยงาม โดยมากมักจะทาสีดำทั้งตัว ตัวหนังจะมีไม้ไผ่ผ่าเพื่อหนีบตัวหนัง เรียกว่าไม้ตับ ปากและมือจะขยับได้ตามลีลาของบทบรรยาย มีคนเชิดซึ่งเป็นคนพากษ์ และวงดนตรีรวมแล้วจำนวนไม่เกิน ๘ คน ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ปี่ กลอง โพน ฆ้อง


เทศกาลและงานประเพณี
งานเทศกาลล่องเรือ-แลนกทะเลน้อย เป็นงานประเพณีที่เริ่มขึ้นใหม่เมื่อปี ๒๕๔๑ เพื่อเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวพิเศษในปีท่องเที่ยวไทย และให้เหมาะสมกับพื้นที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดของพัทลุง มีกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นระยะเวลา ๑ เดือน (๑๔ กุมภาพันธ์-๑๕ มีนาคม) เป็นช่วงเวลาที่มีนกและธรรมชาติสวยงามที่สุด จัดบริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย แต่ละวันจะมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวนั่งเรือหางยาว เที่ยวชมนก และพรรณไม้น้ำ การแสดงพื้นบ้าน การจำหน่ายสินค้าเกษตร และวิถีชีวิตของชุมชน ตลอดจนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์พื้นบ้านนานาชนิด





งานประเพณีแข่งโพนลากพระ (ชักพระ) เป็นงานประเพณีที่จัดขึ้นในวันขึ้น ๑๔๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ตรงกับเทศกาลออกพรรษา จะมีงานประเพณีลากพระหรือชักพระ ทั้งทางบกและทางน้ำ สำหรับจังหวัดพัทลุงเป็นการลากพระทางบก จะมีการตีโพน (กลอง) เพื่อควบคุมจังหวะในการลากพระ ขบวนพระลากของแต่ละวัดก็จะมีผู้ตีโพนอยู่บนขบวน เมื่อผ่านวัดต่างๆ ก็จะมีการตีโพนท้าทายกัน ทำให้มีการแข่งขันตีโพนขึ้นซึ่งมีการแข่งขันตีโพนเป็นประจำทุกปี บริเวณจัดงานอยู่ที่สนามกีฬา จังหวัดพัทลุง และหาดแสนสุขลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง กิจกรรมในงานมีการแข่งโพนจากวัดต่าง ๆ ในจังหวัดพัทลุง และจังหวัดใกล้เคียง การประกวดขบวนแห่โพน การประกวดลีลาตีโพน


วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

บุคคลพิการซ้อน ความหมาย

บุคคลพิการซ้อน

            บุคคลพิการซ้อน (Mutiple Handcapped) หมายถึงบุคคลที่มีความบกพร่องหรือความพิการมากกว่าหนึ่งประเภท ในบุคคลเดียวกัน เช่น คนปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยินเป็นต้นหรือเด็กอาจจะมีปัญหาในด้านการเรียนรู้การควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย การได้ยิน และการมองเห็น เด็กแต่ละคนที่มีความพิการซ้อนจะมีลักษณะแตกต่างกัน และมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไปด้วย เด็กบางคนไม่มีความพิการมากนัก เช่น เด็กที่สูญเสียทางการได้ยินระดับปานกลาง และสายตาเรือนลาง ถ้าลูกของคุณเป็นแบบนี้คุณสามารถใช้ข้อมูลที่อยู่ในเอกสารฉบับอื่นประกอบเพื่อพัฒนาลูกของคุณในการเข้าสังคมได้เป็นอย่างดีแต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ บ่อยครั้งที่มีความพิการซ้อนมีปัญหาหลากหลายรูปแบบ เด็กจะมีการพัฒนาที่ช้ามากเพราะว่าเขามีปัญหาหลายเรื่อง พ่อแม่ต้องอดทนและไม่ควรคิดว่าเด็กต้องทําได้มากกว่าความสามารถของเขา แต่ควรจําไว้ว่าเด็กนั้นสามารถพัฒนาได้ ถ้าใช้เป้าหมายที่เล็กน้อยและเด็กมีความสามารถจะทําได้เด็กที่มีความบกพรองทางสติปัญญาและมีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์
สาเหตุของความพิการซ้อน
สาเหตุของความพิการซ้อนสาเหตุมีหลายประการ บางคนบกพร่องตั้งแต่ก่อนคลอด ระหว่างคลอดหรือหลังคลอด อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุของสภาพความพิการซ้อนที่แน่ชัด
1.ก่อนคลอดอาจจะมีความผิดปกติของโครโมโซม
2.ระหว่างคลอดอาจจะมีการขาดออกซิเจน
3.หลังคลอดได้รับอุบัติเหตุหรือได้รับสารพิษ
4.สถานะภาพทางเศรษฐกิจและสังคมเด็กที่มีความบกพรองทางรางกายหรือสุขภาพและบกพรองทางสายตา
ลักษณะเด็กพิการซ้อน
1. มีปัญหาในการช่วยเหลือตนเองเด็กที่มีความบกพร่องในขั้นรุนแรง มักมีปัญหาในการช่วยเหลือตัวเองคือ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจําวันได้ หรือช่วยได้แต่ไม่ดี เช่น การแต่งตัว การรับประทานอาหาร การขับถ่ายอย่างถูกต้อง การควบคุมปัสสาวะการดูแลความสะอาดของร่างกาย เป็นต้น ดังนั้นในการจัดโปรแกรมการศึกษาสําหรับเด็กประเภทนี้จําเป็นต้องฝึกทักษะในการช่วยเหลือตนเองให้แก่เด็ก
2. มีปัญหาในการสื่อสารการสื่อสาร เป็นปัญหาที่สําคัญที่สุดประการหนึ่งของเด็กที่มีความบกพร่องขั้นรุนแรง กล่าวคือ เด็กเหล่านี้ไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ เช่นไม่สามารถบอกความต้องการของตนเองได้ ไม่เข้าใจเมื่อผู้อื่นต้องการสื่อสารด้วย บางคนไม่สามารถพูดได้ ไม่สามารถใช้ท่าทางประกอบความพยายามในการสื่อสารได้ เป็นต้น เนื่องจากข้อจํากัดเหล่านี้ทําให้การจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีความบกพร่องขั้นรุนแรงเป็นไปด้วยความลําบาก ครูต้องใช้สื่อในการสื่อสารเพิ่มมากขึ้น เช่น ใช้ภาพ สื่อสาร เป็นต้นเด็กที่มีความบกพรองทางรางกายหรือสุขภาพและบกพรองทางสติปัญญาอ่อน
ปัญหาในการเคลื่อนไหว
 ปัญหาในการเคลื่อนไหวเด็กที่มีความบกพร่องขั้นรุนแรง บางคนไม่สามารถนั่งได้ ไม่สามารถเดิน หรือวิ่งได้ด้วยตนเอง บางคนมีปัญหาในการใช้มือ เพื่อหยิบจับสิ่งของต่างๆหากไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างถูกวิธีตั้งแต่อายุยังน้อย เด็กกลุ่มนี้อาจจะต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดชีวิต4. มีปัญหาทางพฤติกรรมเด็กกลุ่มนี้อาจแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กปกติในวัยเดียวกัน พฤติกรรมบางอย่างที่เด็กแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่ไร้ความหมายและพฤติกรรมที่ซํ้าๆ ในลักษณะเดิม เช่น การโยกตัวไปมา การกางนิ้วมือ แล้วเคลื่อนที่ไปมาใกล้ๆ ใบหน้า การบิดตัวไปมา เด็กบางคนอาจมีพฤติกรรมในการกระตุ้นตนเอง เช่น กัดฟัน การลูบไล้ตามร่างกายตนเอง การสําเร็จความใคร่ด้วยตนเอง บางคนอาจมีพฤติกรรมในการทําร้ายตนเอง เช่น การโขกศีรษะตนเองการดึงผมตนเอง การชกต่อย ข่วนหรือกัดตนเอง เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตนเอง ดังนั้นในการจัดการศึกษาให้กับเด็กประเภทนี้ จึงควรมุ่งปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับเด็ก ถึงแม้อาจต้องใช้เวลาแต่เด็กสามารถเรียนรู้ได้เด็กที่มีความบกพรองทางสติปัญญาและออทิสติก
ปัญหาทางสังคม
ปัญหาทางสังคมเด็กปกติทั่วไปมักชอบเล่นซุกซน และสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ แต่เด็กพิการซ้อนส่วนมากมีปัญหาในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น บางคนอาจไม่แสดงปฏิกริยาใดๆ ต่อสิ่งที่อยู่รอบตัว ไม่ยินดียินร้ายกับสิ่งแวดล้อม ไม่มีปฏิกริยาตอบสนองต่อสิ่งที่เป็นอันตราย ไม่สนใจ และไม่เอาใจใส่สิ่งใดๆ เด็กพิการซ้อนอาจเป็นเด็กที่มีความบกพร่องในขั้นรุนแรงหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ละบุคคล แต่เด็กที่หูหนวก และตาบอด จัดว่าเป็นเด็กที่มีความบกพร่องในขั้นรุนแรงเด็กที่มีความบกพรองทางร่างกายหรือสุขภาพและบกพรองทางสติปัญญา
การดูแลและการฟื้นฟูการช่วยเหลือตนเอง
การดูแลและการฟื้นฟูการช่วยเหลือตนเอง มุ่งเน้นการช่วยตัวเองในชีวิตประจําวัน เช่นการแต่งตัว การรับประทานอาหาร การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ และอุจจาระการอาบนํ้าเป็นต้นการสื่อสาร เป็นการฝึกทักษะในการสื่อสารกับผู้อื่น เช่น การทักทาย การบอกความต้องการของตนเอง การรับรู้ความต้องการของผู้อื่น ตลอดจนการสื่อสารโดยใช้ภาษาหรือท่าทางเป็นสื่อกลางในการสื่อสารอีกการเคลื่อนไหว ทักษะในการเคลื่อนไหวที่จําเป็นสําหรับเด็กที่มีความบกพร่องขั้นรุนแรง ควรมุ่งเน้นทั้งการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กซึ่งจะช่วยให้เด็กมีทักษะในการประกอบกิจวัตรประจําวันได้เร็วขึ้นการปรับพฤติกรรม เนื่องจากเด็กที่มีความบกพร่องขั้นรุนแรงแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหลายอย่าง ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงควรมุ่งขจัดหรือบรรเทาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และสร้างหรือส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์พัฒนาการทางสังคม เช่นการเล่น การบอกข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ทักษะในห้องเรียนเด็กที่มีความบกพรองทางสติปัญญาและบกพรองทางการได้ยิน
การช่วยเหลือระยะเริ่มแรก
1. ช่วยถ่ายทอดการเรียนรู้ จากโรงเรียนไปยังบ้านและจากบ้านไปยังโรงเรียน
2. ผู้ปกครองและครูจําเป็นต้องมีความหวังอย่างเดียวกันเกี่ยวกับเด็กไม่เช่นนั้นแล้วเด็กจะรู้สึกสับสน
3. เด็กพิการสามารถเรียนรู้ทักษะเฉพาะได้เร็วขึ้นได้เกือบสองเท่า หากผู้ปกครองร่วมมือกันในการสอน
4. นําทักษะและความรู้ต่างๆ จากโรงเรียนไปใช้ที่บ้านได้
5. ช่วยลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่าง ๆ ที่ขัดขวางการเรียนของเด็ก
6. ผู้ปกครองเด็กพิการซ้อนจําเป็นต้องเน้นทักษะในการสอนเลี้ยงดูมากกว่าผู้ปกครองเด็กทั่วไป
7. ผู้ปกครองมีส่วนช่วยในการกระตุ้นเด็กได้ดีที่สุด
8. ให้แรงเสริมในระหว่างที่เด็กกําลังอยู่ในระหว่างการเรียนรู้
9. ช่วยส่งเสริมพฤติกรรมที่ดี และที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น
10. ช่วยปรับพฤติกรรมที่ไม่ดีของเด็กให้มีพฤติกรรมที่ดีขึ้น
11. ผู้ปกครองและครู ควรมีการวางแผนการแก้ไขและการฝึกทักษะร่วมกัน
12. ปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างครูและผู้ปกครอง แล้วหาทางแก้ไขร่วมเช่น กําหนดกิจกรรมที่เหมาะสมกับช่วยเด็กพิการซ้อนเด็กที่มีความบกพรองทางรางกายหรือสุขภาพและบกพรองทางการได้ยิน
การให้ความช่วยเหลือในบุคคลพิการซ้อน
 การให้ความช่วยเหลือในบุคคลพิการซ้อน จะต้องคํานึงถึงระดับความบกพร่อง ความสามารถ และศักยภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งมีความแตกต่างกัน และจะต้องมีการประสานส่งต่อช่วยเหลือกับนักวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพความบกพร่องของแต่ละบุคคล การช่วยเหลือแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่
1.การพัฒนาและฟื้นฟสมรรถภาพความพิการู
1.1 การฟื้นฟูสมรรถภาพความพิการ การฟื้นฟูสมรรถภาพความพิการด้านต่างๆจะต้องจัดให้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม อาทิ การกายภาพบําบัด เช่น การฝึกยืน ฝึกเดิน ฝึกการเคลื่อนไหวและการใช้อุปกรณ์ เป็นต้น การฝึกกิจกรรมบําบัดได้แก่ การฝึกกิจวัตรประจําวัน ฝึกการใช้มือหรืออวัยวะส่วนที่เหลือให้เต็มตามศักยภาพแต่ละบุคคล ฝึกการพูด ฝึกการสื่อสาร การปรับพฤติกรรมเพื่อให้เรียนรู้ได้การฝึกเข้าสังคม เพื่อให้ปรับตัวและอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข และใกล้เคียงกับคนทั่วไป
1.2 การจัดสภาพแวดล้อมและสิ่งอํานวยความสะดวก ต้องจัดให้เหมาะสมกับความต้องการจําเป็นของแต่ละบุคคล เช่น ห้องนํ้า ประตูพื้น ราวจับบันได ทางลาด และถนนต่อเชื่อมอาคารต่างๆ เป็นต้นเด็กที่มีความบกพรองทางสติปัญญาและบกพรองทางการได้ยิน
2.แนวทางการจัดการเรียนการศึกษาสําหรับเด็กพิการซ้อนได้แก่
(1) การจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม คือการจัดการเรียนการสอนให้บุคคลพิการซ้อนเรียนร่วมกับบุคคลทั่วไป ในระบบโรงเรียนตามศักยภาพและความต้องการของแต่ละบุคคล
(2) การจัดการศึกษาแบบการศึกษาในโรงเรียนพิเศษ คือ การจัดการเรียนการสอนให้บุคคลพิการซ้อนที่ไม่สามารถไปเรียนร่วม ได้เรียนในโรงเรียนเฉพาะประเภทความพิการ
(3) การจัดการศึกษาแบบการศึกษานอกระบบ คือการจัดการเรียนการสอนให้กับบุคคลพิการซ้อนที่ไม่สามารถเรียนในระบบโรงเรียน หรือโรงเรียนพิเศษ ได้แก่ บุคคลพิการซ้อนที่อยู่ตามบ้าน โรงพยาบาล ศูนย์การเรียนทั้งรัฐและเอกชน
(4) การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย คือ การจัดการเรียนการสอนให้กับบุคคลพิการซ้อน ที่ผู้ปกครองต้องการจัดการศึกษาให้ด้วยตนเองเด็กที่มีความบกพรองทางสติปัญญาและความบกพรองทางรางกายหรือสุขภาพ
สิทธิของคนพิการสิทธิมนุษยชนในการเป็นพลเมือง ประกอบด้วย
1. สิทธิเพื่อความเท่าเทียม ( กับคนทั่วไป ) ได้แก่
1.1 สิทธิเพื่อการดํารงชีวิต ในด้านต่างๆ เช่น
1. ปัจจัย 4 คือ อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่ และยา
2. การปฏิบัติกิจวัตรประจําวันรวมทั้งการมีคนช่วยเหลือเฉพาะบุคคล
3. เศรษฐกิจ เช่น นโยบายประกันรายได้ ประกันสังคม ประกันอุบัติเหตุ
4. สังคม โดยเป็นสมาชิกครอบครัวและสังคมมีเกียรติภูมิ/ศักดิศรี ได้ร่วมกิจกรรมและแสดง ความคิดเห็น
5. ศาสนา เช่น การเลือกนับถือศาสนา และการบวช
6. วัฒนธรรม เช่น การใช้ภาษามือ อักษรเบรลล์
7. การดํารงพันธ์ เช่น การแต่งงาน มีลูก
1.2 สิทธิด้านบริการสุขภาพ ได้แก่
1. รักษาพยาบาล ทั้งสิทธิการเลือกการรักษา และการปฏิเสธการรักษา
2. บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม
3. ฟื้นฟูสมรรถภาพ
4. เครื่องช่วยความพิการ
5. กายอุปกรณ์
6. นันทนาการ
7. กีฬา
8. บริการสนับสนุนเด็กที่มีความบกพรองทางสติปัญญาและบกพร่องทางได้ยิน
9. สร้างเสริมสุขภาพ
10. แนะแนวสุขภาพจิต
11. ป้องกันความพิการ เป็นต้น
1.3 สิทธิด้านการศึกษา ได้แก่
1. การเข้าศึกษา
2. สิ่งอํานวยความสะดวก
3. สื่อ
4. บริการต่างๆ
5. ความช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพรองทางสติปัญญาและบกพรองทางสายตา
6. มาตรฐานปกติ
7. การปรับหลักสูตร
8. ครูพิเศษ
1.4 สิทธิด้านการประกอบอาชีพ ได้แก่
1. การฝึกงาน
2. การจ้างงาน
3. สิ่งอํานวยความสะดวก
4. ค่าจ้างที่เท่าเทียม
5. การรับราชการ
6. การเคลื่อนไหว/เดินทาง
7. สารสนเทศ
8. สื่อสารเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและบกพร่องทางรางกายหรือสุขภาพ
1.5. สิทธิในการรวมกลุ่ม ได้แก่
1. การตั้งองค์กรช่วยเหลือตนเอง
2. การแสดงความเห็นของกลุ่ม
3. การสนับสนุนจากรัฐบาล
4. การสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้เสีย
1.6 สิทธิทางการเมือง ได้แก่
1. เลือกตั้ง
2. สิ่งอํานวยความสะดวก
3. ลงคะแนนลับ
4. สมัครรับเลือกตั้ง
5. ร่วมพรรคการเมือง
6. แสดงความคิดเห็น
7. มีส่วนร่วมออกกฎหมายการฝึกประสาทสัมผัส
8. ร่วมกําหนดนโยบายและแผน
1.7 สิทธิในการเข้าถึง หรือใช้บริการที่เป็นสากล และทุกคนใช้ร่วมกันได้ ได้แก่
1. สภาพแวดล้อม
2. อาคาร
3. บริการขนส่งสาธารณะที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมการเป็นอิสระ
4. การเคลื่อนไหว/เดินทางเด็กที่มีความบกพรองทางสติปัญญาและบกพรองทางการได้ยิน
13. สิทธิในการใช้เทคโนโลยี ได้แก่
1. สารสนเทศ
2. การสื่อสาร โดยเฉพาะการใช้ ภาษามือ อักษรเบรลล์ กายอุปกรณ์ เป็นต้น
2. สิทธิในการได้รับบริการตามความต้องการจําเป็นพิเศษอันเนื่องมาจากความพิการ
3. สิทธิทางกฎหมาย ได้แก่
1. เป็นบุคคลตามกฎหมาย โดยมีการแจ้งเกิด ตั้งชื่อ และทําบัตรประชาชน
2. ทํานิติกรรม
3. การคุ้มครองทางคดีอาญา
4. เสรีภาพพื้นฐาน ได้แก่
1. เลือกที่อยู่ได้
2. ดํารงชีวิตอิสระ
3. ตัดสินใจด้วยตนเองเด็กที่มีความบกพรองทางสติปัญญาและบกพร่อง รางกายหรือสุขภาพ
วิธีปรับสภาพแวดล้อมสำหรับบุคคลพิการซ้อน
                ใช้วิธีปรับสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นซึ่งเกิดจากความพิการแต่ละประเภทที่มีซ้อนกันอยู่ของคนพิการแต่ละคน
หน่วยงานที่สามารถให้คำปรึกษาและแนะนำเรื่องการปรับสภาพแวดล้อมสำหรับบุคคลพิการ ได้แก่
1 .  องค์กรของบุคคลพิการแต่ละประเภท เช่น สมาคม / ชมรม / กลุ่ม ของบุคคลพิการ เป็นต้น
2. องค์กรเพื่อบุคคลพิการแต่ละประเภท ได้แก่
สมาชิกในกลุ่ม บุคคลพิการ
1.นางสาวนวรัตน์  ปริศวงศ์
2.นางสาววรรณรวี  สุกมาก
3.นางสาวอรอนงค์    กี่เม่ง

2.1          องค์กรเอกชน เช่น มูลนิธิฯ โรงเรียน กลุ่ม ฯลฯ
2.2          องค์กรภาครัฐ เช่น
2.2.1      ด้านการแพทย์ - ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ สถานีอนามัย โรงพยาบาล ฯลฯ
2.2.2      ด้านการศึกษา - สถานศึกษา ได้แก่  สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย  โรงเรียน และศูนย์การเรียน  เช่น โรงเรียนเฉพาะความพิการ  ศูนย์การศึกษาพิเศษ ฯลฯ
2.2.3      ด้านสังคม - สำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพบุคคลพิการ กรมประชาสงเคราะห์ ประชาสงเคราะห์จังหวัด ศูนย์สงเคราะห์ราษฎร ฯลฯ
2.2.4      ด้านอาชีพ - สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักงานจัดหางาน กรมการจัดหางาน สถานประกอบการที่รับบุคคล
พิการเข้าทำงาน